ในบทนี้ จะกล่าวถึงกระบวนการฟ้องล้มละลายและกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในกรณีที่ธุรกิจประสบปัญหาทางธุรกิจ เพื่อให้นักลงทุนมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องใน การดําเนินการด้านกระบวนการฟ้องล้มละลาย และกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
1. กระบวนการฟ้องล้มละลาย
เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องร้องเมื่อลูกหนี้มีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นหนี้เจ้าหนี้รายเดียว หรือหลายรายรวมกัน เป็นจํานวนที่แน่นอน
- มีหนี้มากกว่า 1 ล้านบาท (บุคคลธรรมดา) หรือ 2 ล้านบาท (นิติบุคคล)
- อยู่ในราชอาณาจักรหรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะฟ้องล้มละลาย หรือภายใน 1 ปี ก่อนฟ้องล้มละลาย
- เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งคือลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอชําระหนี้ หรือลูกหนี้มีหน้ีสินมากกว่าทรัพย์สิน หรือลูกหน้ีที่กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 พ.ร.บ. ล้มละลาย เช่น หนีออกนอกประเทศ ยักย้ายทรัพย์ไปให้พ้นอํานาจศาล
เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องล้มละลายได้ เมื่อ
(1) เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่บังคับคดีกับหลักประกันแล้วไม่พอชําระหนี้แต่สามารถ ยึดทรัพย์อื่นได้อีก เช่น เจ้าหนี้ผู้รับจํานองที่มีสัญญาพิเศษตกลงยกเว้นการปฏิบัติตาม ปพพ. มาตรา733 และ
(2) ถ้าเจ้าหน้ียอมสละหลักประกัน หรือตี ราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้วหักกับ จํานวนหนี้ของตนลูกหน้ียังเป็นหนี้อีก ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท (กรณีลูกหน้ี เป็นบุคคลธรรมดา) หรือ 2,000,000 บาท (กรณีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
- เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหมด
- เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกโดยเร็ว เพื่อปรึกษาว่าควรยอมรับคําขอประนอมหนี้ หรือจะขอให้ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณานัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และแจ้งให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ทุกคนทราบ
- เจ้าหนี้ต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคําส่ังพิทักษ์ทรัพย์
- ลูกหนี้ต้องมาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการทรัพย์สิน รวมทั้งมีสิทธิยื่นคําขอประนอมหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่:
ศาลล้มละลายกลาง โทร. 02-141-1500
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โทร. 02-181-4999
[กลับไปด้านบน]
2. กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
หลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
- เมื่อลูกหนี้ เฉพาะบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจำกัด มีทรัพย์สินไม่เพียงพอกับหนี้สิน เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นถึงกําหนดชําระเเล้วหรือไม่ก็ตาม
- กิจการของลูกหนี้น้ันมีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้
- เเม้ลูกหนี้อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลายถ้ายังไม่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเสียก่อน ก็สามารถยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการได้
คุณสมบัติผู้ทําแผนและผู้บริหารแผน (บุคคลธรรมดา)
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันจดทะเบียน
3. สําเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
3.1 ผู้ทําแผน - สําเร็จการศึกษาด้านการเงิน การบัญชี หรือด้านกฎหมาย และมีประสบการณ์ในการทํางานในด้านดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
3.2 ผู้บริหารแผน - มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจ และมี ประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจไม่น้อยกว่าสามปี
4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทําการใดให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตยส์ุจริต
5. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจําคุก โดยคําพิพากษาให้จําคุกในขณะยื่นขอ
7. ไม่เคยต้องโทษจําคุก
8. ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลมีคําส่ังพิทักษ์ทรัพย์
ถ้าผู้ทําแผนและผู้บริหารแผนเป็นนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและการกําหนดคุณสมบัติผู้ทําแผนและผู้บริหารแผนข้อ 14 และ 16 ดังนี้
ข้อ 14 นิติบุคคลซึ่งจะเป็นผู้ทําแผนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปน้ี
1) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเป็นท่ีปรึกษาทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทาง บัญชีหรือที่ปรึกษาทางกฎหมาย
2) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับจัดกิจการและทรัพย์สินของผู้อื่น
3) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทําแผนและจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาไม่น้อยกว่าสามคนซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และ ผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวทั้งหมดจะต้องมีความรู้อย่างน้อยระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทํางานตาม 1) ไม่น้อยกว่าสามปี และอย่างน้อยหนึ่งคนจะต้องมีความรู้ทางการเงินหรือการบัญชี
4) ผู้บริหารของนิติบุคคลนั้นมีจริยธรรมและมีความสามารถหรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก ต้องคดี เนื่องจากกระทําทุจริต ทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต หรือบริหารงานหรือกระทําการอื่นใด อันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดตามกฎหมายหรือที่เป็นความผิดร้ายแรงอันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ หรือขาดความรอบคอบในการบริหารงาน
5) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานที่รัดกุมและเช่ือถือได้
ข้อ 16 นิติบุคคลซึ่งจะเป็นผู้บริหารแผนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปน้ี
1) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาทางด้านการบริหารงาน
2) มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับจัดกิจการและทรัพย์สินของผู้อื่น
3) มีสายงานที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารธุรกิจและจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาไม่น้อยกว่าสามคนซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวทั้งหมดจะต้องมีความรู้อย่างน้อยระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทํางานตาม 1) ไม่น้อยกว่าสามปี และอย่างน้อยหน่ึงคนจะต้องมีความรู้ทางการบริหารธุรกิจ
4) ผู้บริหารของนิติบุคคลน้ันมีจริยธรรมและมีความสามารถหรือมีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะดําเนินการ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก ต้องคดีเนื่องจากกระทําทุจริต ทํางานอันส่อไปในทางไม่สุจริต หรือบริหารงานหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นเหตุให้เกิดการกระทําความผิดตามกฎหมาย หรือที่เป็นความผิดร้ายแรงอันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบหรือขาดความรอบคอบในการบริหารงาน
5) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานที่รัดกุมและเชื่อถือได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่:
ศาลล้มละลายกลาง โทร. 02-141-1500
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม โทร. 02-181-4999
[กลับไปด้านบน]
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ 2559