เว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี

การค้าระหว่างประเทศ - การนำเข้า (IMPORT)


บทความชุดนี้จะเป็นการเตรียมความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า พร้อมยกตัวอย่างการนำเข้าสินค้าทางทะเล ตั้งแต่ขั้นตอนในการการเตรียมเอกสารเพื่อขอทำธุรกิจนำเข้าสินค้า และส่วนที่เหลือจะว่าด้วยวิธีทางการโอนถ่ายสินค้า การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้า กับภาษีการนำเข้า ไปจนถึงเรื่องของการดำเนินการติดต่อกับทางท่าเรือ ซึ่งแม้จะมีขั้นตอนจำนวนหนึ่งแต่ก็มีความเป็นมาตรฐาน

ในปัจจุบันนั้นมีบริษัทขนส่งสินค้ามากมายให้เลือกใช้บริการในกรณีที่ไม่ต้องการพบกับความยุ่งยากทั้งหลาย ซึ่งส่วนมากก็จะมีราคาแตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบของการขนส่งเช่น คิดจากระยะทาง หรือคิดจากน้ำหนักของสินค้า ถ้าจะใช้บริการเหล่านี้ก็ควรเลือกที่เหมาะสมกับสินค้า ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้า อาทิ กระทรวงพาณิชย์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมปศุสัตว์ ฯลฯ ที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน โดยมีคำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า โปรดศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากกรมศุลกากร: ศึกษาข้อมูลพิธีการนำเข้าสินค้า

การลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร

เอกสารหลักที่ต้องเตรียม 
1. ใบขนสินค้าขาเข้า
2. ใบตราส่งสินค้า
3. บัญชีราคาสินค้า
4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

หลังจากที่เตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาดำเนินการภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษแต่อย่างใด ซึ่งโดยทั่วไปมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ภาพรวมพิธีการนำเข้าโดยสังเขป
1. การโอนถ่าย หรือยื่นข้อมูลใบขนสินค้า
ในขั้นตอนแรก ผู้ที่นำสินค้าเข้าจะต้องบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ของทุกๆ รายการเข้าไปในผ่านทางระบบ Service Counter ซึ่งโปรแกรมนี้จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าให้อัตโนมัติ โดยผู้นำสินค้าเข้านั้นสามารถใช้เอกสารใบขนส่งสินค้าที่ถูกแปลงข้อมูลมานำส่งทางกรมศุลกากรผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ทันที
จากนั้นเมื่อกรมศุลกากรได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นในใบขนส่งสินค้า เพื่อดูว่า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้านั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากมีการพบว่าข้อมูลที่เรากรอกไปนั้นยังมีข้อผิดพลาด ทางกรมศุลกากรก็จะแจ้งข้อมูลเหล่านั้นกลับมาเพื่อให้เราได้แก้ไขให้ถูกต้องเพื่อส่งไปให้กับทางกรมศุลกากรใหม่อีกครั้ง ซึ่งเมื่อพบว่าข้อมูลของเราถูกต้องครบถ้วนแล้ว กรมศุลกากรจะออกใบเลขที่ขนสินค้าขาเข้าให้กับผู้ยื่น
2. การตรวจสอบพิสูจน์ข้อมูลอย่างละเอียด

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้อย่างละเอียด โดยดูจากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ยื่นให้กับกรมศุลกากร ซึ่งในขั้นตอนนี้สินค้าจะถูกแยกเป็น 2 ประเภท คือ

ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถเลือกชำระได้ที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือจะชำระที่ธนาคารก็ได้ อีกประเภทหนึ่งคือใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) จะต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้านั้นๆ

3. การตรวจและการปล่อยสินค้า
หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการตรวจสอบความเรียบร้อย สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือ เมื่อผ่านการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบความถูกต้องอย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมทั้งผ่านการเปิดตรวจ หรือยกเว้นการตรวจ ถ้าหากใบขนสินค้านั้นได้รับการยกเว้น โดยหลังจากผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือที่ได้กำหนดไว้ และสามารถนำเข้าสินค้าได้


1. การบันทึกข้อมูล
2. การจัดการ ณ ท่าเรือ
3. พิธีการศุลกากร
4. การส่งมอบตู้สินค้าขาเข้า
ตัวอย่าง การนำเข้าสินค้าทางทะเล ณ ท่าเรือกรุงเทพ โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุตแบบบรรจุเต็ม (FCL) ไม่เป็นสินค้าอันตราย (non-DG) ไม่ใช่สินค้าแช่เย็น (Refer) และใช้บริการผู้รับส่งสินค้าทางทะเล (Customs broker หรือที่เรียกกันว่าชิปปิ้ง / สายเรือ / ตัวแทนเรือ / ผู้ประกอบการ 3PL) ดำเนินการ



ในกรณีที่เป็นการนําเข้าและส่งออกทางอากาศ กรุณาติดต่อ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) หรือทางบก กรุณาติดต่อ กรมศุลกากร
สําหรับรายละเอียดสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

1. การบันทึกข้อมูล

ผู้นำเข้า หรือตัวแทนจะต้องบันทึกข้อมูลสินค้า และรายละเอียดอื่นๆ ลงในระบบ e-customs ของกรมศุลกากร

[กลับไปด้านบน]

2. การจัดการ ณ ท่าเรือ

เมื่อเรือขนสินค้าเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพแล้ว จะมีการจัดการ ณ ท่าเรือ ตามขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้

ในการนําเรือเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ ทาง ทกท. มีการจัดคิวเรือเข้าจอดท่าเทียบเรือตามเวลาที่เรือลํานั้น ๆ ถึงสันดอนเจ้าพระยาก่อนเป็นหลัก (First Come First Serve) โดยพิจารณาจากข้อมูลของเรือที่ได้รับทางวิทยุสื่อสาร (Bangkok Port Control) และระบบควบคุมตําแหน่งเรือ (AIS หรือ Automatic Ship Identification System) ซึ่งทาง ทกท. จะประชุมจัดเรือร่วมกับเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ ทุกวันในเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาเรือเข้าเทียบท่า
[กลับไปด้านบน]

3. พิธีการศุลกากร

[กลับไปด้านบน]

4. ส่งมอบตู้สินค้าขาเข้า

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางบก
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางเรือ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอากาศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรมศุลกากร โทร. 02-667-6000 หรือ สำนักงาน / ด่าน ศุลกากรทุกแห่ง 
[กลับไปด้านบน]

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ 2559

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2567 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

ศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ